Header Ads

ของฝาก

ของฝากสุราษฎร์ธานี


ขนมจีน
เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของสุราษฎร์ธานีอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งหารับประทานได้ง่ายบริเวณตลาดวัดไทรในตอนกลางคืน

----------------------------------------- 



 หอยขาวพุมเรียง
เป็นอาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของอำเภอไชยา และสามารถหาบริโภค ได้เฉพาะที่พุมเรียงเท่านั้น

----------------------------------------- 



สะตอ
เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะที่อำเภอคีรีรัฐนิคม ซึ่งจะมีมากในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม

----------------------------------------- 


  เงาะพันธุ์โรงเรียน
เป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และของประเทศ เป็นเงาะที่มีรสชาติหวานและกรอบ ปลูกกันมากในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลมีลักษณะโต เปลือกบาง แม้สุกจัดปลายเส้นขนยังมีสีเขียว ลักษณะต้นเป็นพุ่มไม่สูง

----------------------------------------- 


ขนมจิ้นแด้
เป็นขนมที่มีรสชาติอร่อย หาซื้อได้ง่าย บริเวณตลาดวัดไทรในช่วงตอนกลางคืน

----------------------------------------- 


หอยนางรม
หอยนางรมสุราษฎร์ธานีเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในหมู่นักบริโภคว่า เป็นอาหารทะเลที่รสชาติขึ้นชื่อ คุณสมบัติที่สร้างคุณค่าหอยนางรมคือ เนื้อในขาวสะอาด รสออกหวาน ไม่มีกลิ่นคาว มีคุณค่าทางอาหารสูง หอยนางรมเริ่มเพาะเลี้ยงประมาณปี 2504 ทดลองเลี้ยงที่แหลมซุย อำเภอไชยา ต่อมาได้เพาะเลี้ยงที่บริเวณปากคลองท่าทอง และปากคลองกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ หอยนางรมมี 2 ชนิดคือ ชนิดพันธุ์เล็ก เรียกว่าหอยเจาะชนิดพันธุ์ใหญ่ เรียกว่าหอยตะโกรม ลักษณะเป็นหอยมี 2 ฝา พบทั่วไปบริเวณน้ำตื้นชายฝั่ง หอยนางรมจะออกวางไข่ตลอดปี แต่จะพบมากในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน หอยนางรมจะวางไข่ครั้งหนึ่งประมาณ 1-9 ล้านฟอง

----------------------------------------- 


หมวกพุมเรียง
เป็นอาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของอำเภอไชยา และสามารถหาบริโภค ได้เฉพาะที่พุมเรียงเท่านั้น

----------------------------------------- 


 ขนมจั้ง
ขนมจั้งนิยมทำกันมากในอำเภอไชยา เครื่องปรุงขนมชนิดนี้ ประกอบด้วยข้าวเหนียว น้ำ และน้ำด่างโดยนำข้าวเหนียวแช่น้ำด่างประมาณ 3-5 ชั่วโมง ต่อจากนั้น นำข้าวเหนียวมาห่อด้วยใบไผ่แนะห่อเสร็จเรียบร้อยแล้วนำจั้งไปต้มจนกว่าจะสุก ก็จะได้จั้งตามที่ต้องการ ส่วนใหญ่นิยมรับประทานกับน้ำเชื่อม หรือน้ำกะทิก็ได้

----------------------------------------- 


ไข่เค็มไชยา
ที่อำเภอไชยา เป็นไข่เค็มที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป การทำไข่เค็มไชยา ใช้ไข่เป็ดจากอำเภอไชยา มีไข่แดงมากและไม่คาวเหมือนไข่เป็ดทั่วไป จากนั้นเอาดินจาก จอมปลวกมาตำให้ละเอียด ร่อนเอาเฉพาะที่ละเอียด แยกเอากรวด ทราย ออกให้หมดคลุก ด้วยน้ำและเกลือให้ดินค่อนข้างเหนียว แล้วเอาดินนี้หุ้มไข่เป็ด หลังจากนั้นนำไปคลุกกับ ขี้เถ้าแกลบ เป็นอันเสร็จ กระบวนการทำไข่เค็มไชยา แล้วจึงนำมาบรรจุหีบห่อเพื่อจำหน่าย มีฉลากบอกระยะเวลาไว้ว่า เมื่อใดเหมาะสำหรับทอดไข่ดาว เมื่อใดเหมาะสำหรับต้ม

-----------------------------------------


 ผ้าไหมพุมเรียง
การทอผ้าไหมพุมเรียงเป็นงานหัตถกรรม ที่ทำกันในหมู่บ้านไทยมุสลิม เข้าใจว่าแต่เดิมคงเป็นพวกแขกที่อพยพ หรือถูกกวาดต้อนมาจากไทรบุรี พร้อมๆ กับช่างทอผ้าที่เมืองนครศรีธรรมราชบ้างก็สันนิษฐานว่า ไทยมุสลิมที่พุมเรียงอาจจะเป็นชาวปัตตานี เพราะอารยธรรมสูงกว่าที่อื่น แล้วมาอาศัยอยู่ที่ตำบลพุมเรียง การทอผ้าพุมเรียง ชาวบ้านไม่ได้เลี้ยงไหมเอง ไหมที่ใช้ทอเป็นไหมจากญี่ปุ่น และสั่งซื้อจากกรุงเทพฯ โดยนิยมทอผ้าด้วยกี่กระตุก ลวดลายต่างๆที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นของชาวบ้านพุมเรียง โดยเฉพาะในปัจจุบัน มี 5 ลาย ได้แก่ ลายราชวัตร ลายดอกพิกุล ลาบดอกโคม ลายนพเก้า และลายยกเบ็ด

----------------------------------------- 

ไม่มีความคิดเห็น

flukfiaoSuratthani. รูปภาพธีมโดย konradlew. ขับเคลื่อนโดย Blogger.